กรณีศึกษา : หุ้นกู้ STARK บริษัทที่มีผลประกอบการดีมาตลอด
แต่ทำไม ไม่สามารถส่งงบการเงินได้ ธุรกิจกำลังเผชิญปัญหาอะไรอยู่รึเปล่า?
ทำให้มีการหยุดการซื้อขายไปตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2566 สาเหตุจากไม่สามารถส่งงบการเงินได้ และกลับมาซื้อใหม่เมื่อมิถุนายน 2566 ราคาหุ้นปรับตัวลงมากกว่า 90% หลังจากเปิดการซื้อขายในช่วงที่ผ่านมา จากมูลค่ากิจการที่เคยทำจุดสูงสุดอยู่ที่ 89,000 ล้านบาท ราคาหุ้น เคยทำจุดสูงสุดที 6.65 ราคา เมื่อ (21 ม.ค. 2562) แต่ล่าสุด มูลค่ากิจการของ STARK เหลือเพียง 2,950 ล้านบาท (ราคาหุ้น 2 มิ.ย.2566 อยู่ที่ 0.22 บาท)
ขอขยายความเพิ่มเติม คำว่า “หุ้นกู้” คือ เหมือนการเราให้เพื่อนยืมเงิน และเรารอรับดอกเบี้ย และเงินต้นคืน ตามระยะเวลาที่เราให้เพื่อนยืมเงิน เราเป็นเจ้าหนี้ เพื่อนเราเป็นลูกหนี้
ส่วน “หุ้น” คือ เราเป็นส่วนร่วมในเจ้าของให้เงินเพื่อนไปทำธุรกิจ มีส่วนร่วมรับผิดชอบกับธุรกิจของเพื่อน
อย่างกรณี STARK ถ้าเกิดกรณีล้มละลายขึ้นมา ลำดับการได้เงินคืน ของนักลงทุนจะได้ตามนี้
1. เจ้าหนี้ 2. หุ้นกู้ 3. เจ้าของ(ผู้ถือหุ้น)
แล้ว หุ้นกู้ STARK มีมูลค่าความเสียหายจากหุ้นกู้เท่าไหร่?

STARK ออกหุ้นกู้ ปัจจุบันเป็นระยะยาว ไม่มีหลักประกันทั้งหมด
จำนวนหุ้นกู้ เงินต้นมูลค่า 1,291.50 ล้านบาท ต้องชำระให้เจ้าหนี้ (ผู้ถือกู้ STARK239A) ทั้งหมด วันที่ 2 กันยายน 2566 มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถชำระคืนได้ ทำให้เกิดภาวะไม่สามารถชำระคืนหุ้นกู้ ตัวอื่นๆ ได้เหมือนกัน เกิดกรณี (Cross Default) มูลค่าเสียหายจากหุ้นกู้ทั้งหมด 5 รุ่น ของ STARK คือ 9,200 ล้านบาท * DP คือ Default Payment ไม่สามารถชำระคืนดอกเบี้ยและเงินต้นได้
ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค. 2566 ไม่ใช่ STARK บริษัทเดียวที่เคยผิดชำระหนี้ ยังมีอีกหลายบริษัท!
มีอีก 8 บริษัท ก่อนหน้านี้ รวม STARK เป็น 9 บริษัท
ที่ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้กับนักลงทุนได้ แต่มูลค่าความเสียหายอาจจะไม่เท่ากับ STARK ได้แก่ 1.ACAP 2.ALL 3.APEX 4.CHO 5.EARTH 6.IFEC 7.PACE 8.RICH 9.STARK
มูลค่าความเสียหายจาก
1. การปรับโครงสร้างหนี้ (จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นช้า)
2. ไม่จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น
3.เข้าข่ายผิดนัดชำระหนี้ทุกรุ่นของ STARK ตามเกณฑ์ส่งงบล่าช้า
4.ฟื้นฟูกิจการ
โดยทั้งหมด มีมูลค่าความเสียหายจากหุ้นกู้ รวมกันมากกว่า 110,000 ล้านบาท
บทเรียน “หุ้นกู้ STARK” สอนอะไรเราบ้าง!
1. อย่าวางไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว การจะกระจายการลงทุนไว้หลายสินทรัพย์ ยังเป็นสิ่งที่ช่วยได้ทุกยุคทุกสมัย ไม่ควรเอาเงินที่มีทั้งหมด ลงทุนแต่หุ้นกู้ หรือหุ้นตัวเดียวไปเลย
2. ก่อนลงทุนในหุ้นกู้ ควรศึกษาให้รอบด้าน ดูแค่กำไรขาดทุนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องดูกระแสะเงินสดในการทำธุรกิจ ดูความเสี่ยงของบริษัท ดูแหล่งเงินทุนของบริษัท และดูความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย เป็นต้น
3. ผลประกอบการที่ดี ไม่ได้การันตีในอนาคต ต้องเลือกลงทุนในหุ้น หรือหุ้นกู้ สามารถเติบโตและฝ่าฟันทุกวิกฤตได้ และผู้บริหารมีธรรมมาภิบาลทีดี และเป็นเทรนด์ที่ดีในอนาคต
Facebook Comments