5 Culture องค์กร ที่ทำให้ Netflix เติบโตแบบก้าวกระโดด!

ในยุคที่ร้านเช่าหนังได้กลายเป็นความทรงจำสุดคลาสสิค
“Netflix” ก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจสตรีมมิ่งระดับต้นๆ ของโลก
ที่ครอบคลุมมากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก
และโกยรายได้ในปี 2018 ถึง 4.8 แสนล้านบาท

อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของ “Netflix” ?
ที่ทำครองใจคนทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว

มาดูกลยุทธ์เด็ดที่ Netflix ใช้บริหารองค์กร
สามารถนำไปปรับใช้กับแบรนด์ของตัวเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เปิดกว้างในการออกไอเดีย “ไม่ใช่ควบคุม”

Netflix พบว่าหากพวกเขาให้พนักงาน ใช้ตรรกะและ common sense แทนการทำตามกฎที่เข้มงวด ผลลัพธ์ที่ได้มักออกมาดีกว่า โดยสร้างวัฒนธรรมที่ผลักดันให้เกิดไอเดียต่างๆ เช่น

ผลักดันให้มีการเปิดกว้างยอมรับ มีความโปร่งใสในการตัดสินใจจากทุกฝ่าย ทั้งเรื่องกลยุทธ์ เป้าหมาย การวัด และประเมินผล, การตั้งสมมติฐานการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในทีม อย่างชัดเจน

การสร้าง “ภาวะความเป็นผู้นำ” (Leadership) ให้คนในทีม

ผู้นำต้องยอมถอยออกมา เพื่อให้อิสระคนในทีมได้ออกไอเดียบ้าง เลิกคาดหวังให้ผู้นำระดับบนเป็นผู้มีอำนาจในการออกไอเดียได้เท่านั้น เพราะไม่ว่าใครจะอยู่ในตำแหน่งไหนก็สามารถสร้างความ เปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน

สร้างองค์กรที่มีแต่คนเก่ง หาคนเก่งมาร่วมงานให้ได้

Netflix มักมองหาคนที่ตื่นเต้น และรู้สึกท้าทายเมื่อต้องเจอกับปัญหา อยากที่จะลงมือเข้าไปแก้ปัญหานั้นให้สำเร็จ บริษัทจึงตั้งฝ่ายจัดหา คนเก่งเพื่อดึงคนเหล่านั้นเข้ามาใครที่ได้มีโอกาสไป สัมภาษณ์งานที่ Netflix จะได้รับคู่มือ Netflix Culture Memo ไปอ่านเพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงแนวคิดของบริษัท เพื่อพิจารณาว่าตรงกับเป้าหมายของตัวเองหรือไม่

ที่สำคัญเรื่องเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ Netflix ก็ให้ไม่อั้นเพื่อดึงดูดคนเก่งเหล่านั้น เช่น เกม ขนม อาหาร และอีกมากมาย

นอกจากนี้ Netflix ยังมีการเตรียมตัวให้พนักงานได้มีทักษะที่พร้อมกับ การทำงานใน 6 เดือนถึง 1 ปี ข้างหน้า และทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้บริษัทถูกขนานนามว่า เป็นองค์กรที่มีแต่คนเก่งอยู่

“Put the right man in the right job” จัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน

Netflix พยายามจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน และไม่ได้ต้องการคนฉลาดไปทุกอย่าง แต่ต้องการคนที่ฉลาดในงานที่ทำ

โดย Netflix พยายามศึกษาว่าพนักงานแต่ละคนถนัดอะไร ชอบทำอะไร และทำอะไรได้ดีเป็นพิเศษ บริษัทพยายามจ้างคนที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับงาน ไม่ใช่คนที่แค่พอทำได้เท่า นั้น

และยินดีจะบอกลาคนเก่ง ถ้าหากทักษะความสามารถไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องทำต่อไป และอีกเหตุผลที่ใช้พิจารณา การไล่ออก ไม่ได้มาจาก การทำงานพลาด หรือแก้ปัญหาไม่ได้ แต่เป็นเพราะปิดบังปัญหา ไม่เอามาสื่อสารตั้งแต่แรกๆ

ให้อิสรภาพ และความรับผิดชอบในการทำงาน

Netflix มีชั่วโมงการทำงาน ที่ยืดหยุ่น พนักงานจะมีวันลา เท่าไรก็ได้ ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ตราบเท่าที่พวกเขาสามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย

นอกจากนี้ ยังให้พนักงานมีอิสระในการตัดสินใจในการใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยไม่ต้องรอการอนุญาตจากหัวหน้างาน ซึ่งเรื่องนี้ถือนี่เป็นอิสระขั้นสูงที่เราอาจไม่เคยเห็นจากการทำงานที่อื่นๆ

ถ้าถามถึงเรื่องของการโกง แน่นอนว่าย่อมมีโอกาสเกิด ขึ้นได้อยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้าง และการดำเนินการที่รัดกุม ทำให้นโยบายนี้ก่อให้เกิดกำไรให้กับบริษัท มากกว่าขาดทุนเสียอีก

Facebook Comments
SHARE
Salary Investor
“คนทำงาน” ที่ชอบลงทุนกับความรู้ เพื่อชีวิตที่ดียิ่งขึ้น