What’s next? ก้าวต่อไปของ Makro หลังปิด ดีลรับโอนกิจการกลุ่ม Lotus’s

ยังคงเป็น Deal ใหญ่ในแวดวงธุรกิจที่ได้รับการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง สำหรับการปรับโครงสร้างธุรกิจค้าส่งแบบ B2B (Business to Business หรือ การค้ากับผู้ประกอบการ) และค้าปลีกแบบ B2C (Business to Consumer หรือ การค้ากับผู้บริโภค) ของกลุ่ม CP นั่นคือ การที่ บมจ.สยามแม็คโคร (Makro) รับโอนกิจการทั้งหมดของกลุ่ม Lotus’s จากบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการผนึกกำลังระหว่างธุรกิจค้าส่งแบบ B2B และค้าปลีกแบบ B2ครั้งสำคัญ 

เพราะการผนึกกำลังครั้งนี้จะเพิ่มโอกาสให้กับทั้ง Makro และ Lotus’s โดยเฉพาะการขยายธุรกิจในสเกลระดับภูมิภาค ซึ่งภูมิภาคเอเชียนั้นเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรจำนวนมาก และยังเป็นการรองรับเศรษฐกิจที่กำลังจะฟื้นตัว หลังผ่านพ้นวิกฤต Covid-19 นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ตั้งแต่ลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ผลิต SMEs พนักงาน และผู้ถือหุ้น ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลัก ข้อของ Makro ได้แก่ 

  • Multi-formats ขยายตัวสู่อาเซียนด้วยรูปแบบร้านค้าที่หลากหลาย 
  • Award ให้รางวัลความสำเร็จของทีมงาน และลงทุนกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 
  • Know the differences ศึกษาทำความเข้าใจในความแตกต่างเฉพาะตัวของแต่ละท้องถิ่น 
  • Responsible สร้างผลประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมรับผิดชอบต่อสังคม 
  • Offer the best นำเสนอแต่สิ่งที่ดีที่สุด และคุ้มค่าที่สุด ให้กับลูกค้า 

โดยเมื่อ Lotus’s ย้ายเข้ามาอยู่ในชายคาของ Makro แล้ว จากเดิมที่ Makro เป็นผู้ค้าส่งแบบ B2B ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชีย (อ้างอิงจากยอดขายรวมปี 2563) โดยมีวิชั่น “มุ่งเป็นที่หนึ่งเรื่องการจัดหาสินค้าเพื่อธุรกิจอาหารแบบครบวงจร สำหรับผู้ประกอบการมืออาชีพ” ก็จะมีธุรกิจค้าปลีกแบบ B2C ชั้นนำในประเทศไทยและประเทศมาเลเซียของ Lotus’s เข้ามาในกลุ่มด้วย และกลายเป็น “New Makro” ที่มีศักยภาพในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย นอกจากนี้ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นคือ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพราะทั้งสองบริษัทถึงแม้จะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต่างกันแต่จะมีการใช้ระบบงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบหลังบ้าน ระบบโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ไปจนถึงเรื่องโลจิสติกส์ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ขณะที่ยังมีประสิทธิภาพและระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ที่แข็งแกร่งมากขึ้น  

สอดคล้องกับการเติบโตของผลประกอบการ โดย Makro จะเริ่มรับรู้รายได้จากกลุ่ม Lotus’s ซึ่งมีสาขาตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ และมีการให้เช่าพื้นที่ภายในศูนย์การค้าจำนวนมาก จึงมีโอกาสที่จะเติบโตไปกับภาพรวมเศรษฐกิจหลังรัฐบาลเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ มากขึ้น  

ปัจจุบัน Makro เตรียมลงทุนพัฒนาโครงการในอนาคตของทั้ง Makro และ Lotus’s เช่น การขยายเครือข่ายธุรกิจ การปรับปรุงร้านค้า การเปิดตัวธุรกิจใหม่ การพัฒนาระดับดำเนินงานดิจิทัล และธุรกิจรูปแบบผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (O2O 

โดยนอกจากการเพิ่มสาขาแล้ว การพัฒนาด้านดิจิทัล (Digitalization) ถือเป็นกลยุทธ์หลักที่ Makro ให้ความสำคัญ ซึ่งหลังจากรับโอนกิจการ ทั้ง Makro และ Lotus’s จะร่วมกันพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ผสมผสานการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ (offline and online หรือ O2O) ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์ พร้อมยกระดับสู่การเป็นร้านค้าส่งแบบ B2B และค้าปลีกแบบ B2C สินค้าอุปโภคบริโภคในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว 

ล่าสุด Makro ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO) จำนวนรวมไม่เกิน 2,270,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 20.32 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ Makro ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วย  

  • หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดย Makro จำนวนไม่เกิน 1,362,000,000 หุ้น  
  • หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL จำนวนไม่เกิน 363,200,000 หุ้น  
  • หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CPH) จำนวนไม่เกิน 363,200,000 หุ้น  
  • หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด (CPM) จำนวนไม่เกิน 181,600,000 หุ้น 

โดยจะมีการจัดสรรหุ้นสามัญบางส่วนจากหุ้นสามัญทั้งหมดที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ดังนี้  

  • ผู้ถือหุ้นเดิมของ Makro (ยกเว้น CPALL บริษัทย่อยของ CPALL CPM และ CPH) ในอัตราส่วน 10 หุ้นสามัญของ Makro ต่อ 1 หุ้นสามัญของ Makro ที่เสนอขาย 
  • ผู้ถือหุ้นเดิมของ CPALL (ยกเว้นกลุ่ม CPG (บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ตามแบบ 56-1 ประจำปี 2563 ของ CPALL) ในอัตราส่วน 15 หุ้นสามัญของ CPALL ต่อ 1 หุ้นสามัญของ Makro ที่เสนอขาย 
  • ผู้ถือหุ้นเดิมของ CPF (ยกเว้นกลุ่ม CPG ตามแบบ 56-1 ประจำปี 2563 ของ CPF) ในอัตราส่วน 70 หุ้นสามัญของ CPF ต่อ 1 หุ้นสามัญของ Makro ที่เสนอขาย 

ซึ่งจะเสนอขายหุ้นสามัญในราคาเดียวกันกับราคาที่จะเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นของทั้ง บริษัท (Record Date) ที่จะได้รับการจัดสรรหุ้นบางส่วน ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งผู้ถือหุ้นที่ใช้สิทธิจองซื้อสามารถเช็กผลการจัดสรรออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ Settrade ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 

นอกจากนี้ Makro อาจพิจารณาจัดสรรหุ้นส่วนเกินแก่ผู้จองซื้อเกินกว่าจำนวนหุ้นที่จำหน่ายโดยผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาหุ้นส่วนเกิน (Over-Allotment Agent) จำนวนไม่เกิน 340,500,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายให้แก่ประชาชนในครั้งนี้  ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่นักลงทุนไทยจะได้ร่วมเติบโตไปกับธุรกิจค้าส่งแบบ B2B และค้าปลีกแบบ B2C ของคนไทยที่เตรียมขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค 

โดย Makro จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการขยายธุรกิจ ลดต้นทุนทางการเงิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ ซึ่งหลังเสร็จสิ้นกระบวนการเหล่านี้ จะทำให้ Makro มีสัดส่วนการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ถือเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับหุ้น Makro และเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องมี Free Float ไม่น้อยกว่าจำนวนดังกล่าว ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหุ้นได้อย่างคล่องตัว ภายใต้ราคาที่เหมาะสม  

สำหรับผู้จองซื้อรายย่อยที่สนใจ MAKRO จะจัดสรรหุ้น PO โดยวิธี Small Lot First ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของ SETTRADE ผ่านช่องทางของตัวแทนจำหน่ายหุ้น (Selling Agents) 3 ราย ได้แก่ (1) แอปพลิเคชัน Bualuang mBanking รวมถึงสำนักงานใหญ่และสาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ (2) แอปพลิเคชัน SCB Easy รวมถึงสำนักงานใหญ่และสาขาธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ และ (3) แอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet โดยบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที   

สำหรับผู้ถือหุ้นเดิมของ MAKRO, CPALL และ CPF ที่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้น PO สามารถจองซื้อผ่านช่องทางของตัวแทนรับจองซื้อหุ้น (Subscription Agents) 2 ราย ได้แก่ การจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Bualuang mBanking รวมถึงสำนักงานใหญ่และสาขาธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ และแอปพลิเคชัน SCB Easy รวมถึงสำนักงานใหญ่และสาขาธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ โดยสามารถจองซื้อหุ้นตามสิทธิที่ได้รับจัดสรร หรือเกินกว่าสิทธิที่ได้รับจัดสรร (ไม่กำหนดจำนวนจองซื้อสูงสุดของการจองซื้อหุ้นเกินกว่าสิทธิที่ได้รับการจัดสรร) หรือน้อยกว่าสิทธิที่ได้รับจัดสรร หรือสละสิทธิไม่จองซื้อก็ได้ โดยระบบของ SETTRADE จะจัดสรรหุ้นตามสิทธิที่ได้รับแก่ผู้ถือหุ้นเดิมทุกรายที่จองซื้อในรอบแรก โดยสิทธิในการได้รับจัดสรรหุ้นสามัญเกินกว่าสิทธิของผู้ถือหุ้นเดิมทั้ง 3 บริษัทแต่ละราย จะคำนวณจากการนำสิทธิของผู้ถือหุ้นเดิมของทั้ง 3 บริษัทที่แสดงความจำนงจองซื้อเกินกว่าสิทธิทั้งหมดของผู้ถือหุ้นเดิมแต่ละรายมารวมกัน และจะจัดสรรเพิ่มแก่ผู้จองซื้อเกินกว่าสิทธิของผู้ถือหุ้นเดิมใน MAKRO CPALL และ CPF จนกว่าหุ้นจะหมดหรือครบตามจำนวนที่มีผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิจองซื้อ ส่วนกรณีที่ผู้จองซื้อหุ้นรายเดียวกันยื่นใบจองซื้อมากกว่า 1 ใบ ระบบการจัดสรรของ SETTRADE จะรวมจำนวนหุ้นที่จองซื้อจากทุกใบจองเป็นยอดเดียว ทั้งนี้ สำหรับผู้ถือหุ้นเดิมที่มีสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ สามารถตรวจสอบสิทธิที่ได้รับจัดสรรทาง www.settrade.com ได้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th 

สำหรับนักลงทุนที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-090-9191 และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.siammakro.co.th  

References
– Press Release Makro
– รายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการเข้าทำรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันเกี่ยวกับธุรกรรมการรับโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด เสนอต่อ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) โดย บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) วันที่ กันยายน 2564
– https://www.prachachat.net/finance/news-777050
– https://bit.ly/3j09p9Y 
– https://workpointtoday.com/free-float/  

Facebook Comments
SHARE
Advertorial Team
“คนทำงาน” ที่ชอบลงทุนกับความรู้ เพื่อชีวิตที่ดียิ่งขึ้น