รู้จัก “ผู้นำ” 6 สไตล์ แบบไหน…ที่คุณอยากร่วมงานด้วย?

รู้จัก “ผู้นำ” 6 สไตล์ แบบไหน…ที่คุณอยากร่วมงานด้วย?

บทความจาก Harvard Business Review โดย Daniel Goleman แนะนำไว้ 6 แบบ ของผู้นำ ซึ่งผู้นำที่ดีจะต้องเลือกใช้สไตล์การนำให้เหมาะกับแต่ละสถานการณ์

มาดูกันว่าแต่ละสไตล์น่าสนใจยังไง และเราอยากทำงานกับ ผู้นำสไตล์ไหนบ้าง?

1.  ผู้นำแบบออกคำสั่ง (The Coercive Style) :

ผู้นำที่ชอบใช้ความคิด ตัดสินใจทำอะไรเองคนเดียว มักไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเสนอความคิดเห็นใดๆ หรือถามถึงความรู้สึกของคนในทีม

ข้อดี :  เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการจัดการปัญหา

ข้อเสีย :
– ส่งผลให้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไม่เกิด
– องค์กรยากที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว

เหมาะกับ : องค์กร หรือทีมที่กำลังเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น มีวิกฤต หรือกำลังย่ำแย่
ยกตัวอย่างผู้นำ : Donald Trump

2. ผู้นำแบบโน้มน้าว (Autocratic Leadership) :

ผู้นำเช่นนี้ เขาจะพยายามโน้มน้าวให้ทุกคนมุ่งหน้าไปสู้เป้าหมายไปด้วยกัน

ข้อดี : ในระยะยาวจะทำให้ทุกคนในทีมซึมซับสิ่งเหล่านี้ไปทุกวันๆ จนเชื่อว่าพวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายได้

ข้อเสีย :
– อาจไม่เหมาะกับคนในทีมที่มั่นใจในตัวเองสูงมากๆ จนไม่ยอมฟังใคร วิธีการนี้อาจใช้ไม่ได้ผล

เหมาะกับ : องค์กรที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง แต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ช่วยให้ทีมรู้ว่าจะต้องเดินหน้ากันต่อไปยังไง
ยกตัวอย่างผู้นำ : Steve Jobs

3. ผู้นำแบบคนในองค์กรต้องมาก่อน (The Affiliative Style) :

ผู้นำที่ชอบสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับคนในทีม โดยเขาจะสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม และป้องกันการเกิดความขัดแย้งระห่างคนในทีม

ข้อดี : ผู้นำจะเข้าใจ และให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคนในทีม

ข้อเสีย : การมัวแต่โฟกัสที่คน แต่ไม่โฟกัสที่งาน อาจทำให้คนในทีมขาดแรงกระตุ้นในการทำงาน

เหมาะกับ : ช่วงที่ทีมเกิดเรื่องขัดแย้ง ความเห็นไม่ตรงกัน หรือต้องการให้กำลังใจทีมที่กำลังเจอกับความเครียด ความกดดัน
ยกตัวอย่างผู้นำ : Sundar Pichai CEO Google

4. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership) :

ผู้นำที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับฟัง แสดงความคิดเห็น และหัวหน้าจะตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย

ข้อดี : ทุกคนได้มีโอกาสออกสิทธิ์ออกเสียง เสนอความคิดเห็นของตัวเองได้

ข้อเสีย :
อาจทำให้มีการประชุมอย่างไม่หยุดหย่อน
–  คนในทีมอาจจะรู้สึกว่าผู้นำไม่ได้ช่วยตัดสินใจเท่าที่ควร

เหมาะกับ : ทีมที่มีแรงจูงใจ มีความรู้ และความสามารถในการทำงานและผู้นำมีความคิดที่ชัดเจน แต่เพียงต้องการไอเดียเพิ่มเติมบางอย่าง
ยกตัวอย่างผู้นำ : John F. Kennedy

5. ผู้นำแบบสร้างมาตรฐาน (The Pacesetting Style) :

สไตล์การนำแบบนี้เน้นการทำให้ดู มากกว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอน ผู้นำมักจะพยายามแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานของการทำงานและต้องการให้คนในทีมทำตามให้ได้

ข้อดี : หัวหน้าจะพยายามผลักดันคนในทีมให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาอันสั้น

ข้อเสีย :
การพูดคุยและการให้ feedback ระหว่างกันมีน้อย ระยะห่างอาจเกิดขึ้นในทีม
– อาจสร้างความคาดหวัง และความกดดันมากเกินไป

เหมาะกับ : การทำงานที่มีการแข่งขันสูง และคนในทีมมีทักษะ ความสามารถสูง เช่น งานกฎหมาย หรืองานวิจัยและพัฒนา
ยกตัวอย่างผู้นำ : Jack Welch อดีต CEO ของ General Electric

6. ผู้นำแบบสอนงาน (The Coaching Style) :

ผู้นำที่เน้นการพูคุยกับคนในทีม และชอบ “สอน” ให้สมาชิกเป็นคนที่เก่งขึ้น และดีขึ้นกว่าเดิม

ข้อดี : โฟกัสที่พัฒนาการของทีมแต่ละคน ช่วยให้คนในทีมพัฒนาจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้น หรือเข้าใจจุดอ่อนของตัวเองมากยิ่งขึ้น

ข้อเสีย : ไม่ได้เหมาะกับคนในทีมทุกคน เหมาะกับคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

เหมาะกับ : ทีมที่เปิดใจว่าตัวเองสามารถพัฒนาต่อ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมได้
ยกตัวอย่างผู้นำ : Howard Schultz CEO Starbucks

Facebook Comments