สถานการณ์ผันผวนทั้งในตลาดหุ้น คริปโต เงินเฟ้อพุ่งทั่วโลก ทำให้นักลงทุนเริ่มหวาดวิตกกับตัวเลขสีแดงในพอร์ตลงทุน หลายคนเริ่มมองหาช่องทางย้ายเงินในกระเป๋าไปทางไหนดี เพราะไม่ใช่แค่ต้องหาทางที่จะสู้กับเงินเฟ้อที่พุ่งกระฉูดเท่านั้น แต่ต้องมั่นใจว่า เงินต้นจะไม่หาย และมีผลตอบแทนที่งอกเงยอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงนี้ ตลาดหุ้นกู้บ้านเราคึกคักเป็นพิเศษ มีบริษัทชั้นนำที่ไม่เคยระดมทุนในวงกว้างมาก่อนอย่าง “สยามพิวรรธน์” เข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ใครที่สนใจอยากลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรีเทล ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในห้างหรู อย่างสยามพารากอน และ ไอคอนสยาม ต้องห้ามพลาด
ก่อนลงทุน หุ้นกู้ Perpetual Bong ของ “สยามพิวรรธน์” ควรรู้อะไรบ้าง ?
-
Perpetual Bond หรือ หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ เป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด และมีสิทธิเลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใด
-
อันดับเครดิตของสยามพิวรรธน์ที่ “A-” (Stable) และอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ที่ “BBB” (Stable) โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ถือเป็น Investment Grade ที่ลงทุนได้
-
ในแง่หลักการ หุ้นกู้ชนิดนี้จะนับเป็นทุนทั้งจำนวนในช่วง 5 ปีแรก แต่หลังจากนั้นบริษัทจัดอันดับเครดิตจะนับหุ้นกู้ชนิดนี้เป็นหนี้สินทั้งจำนวน จึงเป็นแรงจูงใจให้บริษัทผู้ออกหุ้นกู้มักจะขอไถ่ถอนเมื่อครบ 5 ปี
-
หุ้นกู้ชนิดนี้มีลักษณะเหมือนหุ้นบุริมสิทธิ คือ เลื่อนจ่ายดอกเบี้ยได้ แต่จะต้องสะสมไปจ่ายคืนให้นักลงทุนด้วย ต้องพิจารณาความมั่นคง ฐานะทางการเงิน และความแข็งแกร่งของบริษัท
ธุรกิจของสยามพิวรรธน์มีอะไรบ้าง ?
-
ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และเป็นหนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ
-
ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงมาตลอดกว่า 63 ปี สามารถรักษาตำแหน่งทางการตลาด และมีวิสัยทัศน์ในการสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่าง มีฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
-
ปัจจุบัน มีบริษัทในเครือ 47 บริษัท ครอบคลุม 7 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย 1) ธุรกิจศูนย์การค้าอาคารสำนักงาน 2) ธุรกิจห้างสรรพสินค้า 3) ธุรกิจศูนย์การประชุมและศูนย์แสดงนิทรรศการ
4) ธุรกิจดิจิทัล แพลตฟอร์ม สร้างประสบการณ์ลูกค้าเชื่อมออฟไลน์และออนไลน์ 5) ธุรกิจบริหารจัดการอาคาร 6) การสื่อสารการตลาด และ 7) ธุรกิจค้าปลีก -
บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรอย่างต่อเนื่อง
-
บริษัทมีสภาพคล่องที่ดีและแข็งแกร่ง และมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 อยู่ที่ 0.99 เท่า
อัตราผลตอบแทนของหุ้นกู้ด้อยสิทธิคล้ายทุนฯ เป็นอย่างไร ?
-
กำหนดอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก 5.50% ต่อปี จากนั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยทุก ๆ 5 ปี โดยอ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ณ เวลานั้น จ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ลงทุนทุก ๆ 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้
จำหน่ายใคร เปิดจำหน่ายเมื่อไหร่ ?
-
เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) ระหว่างวันที่ 4-5 สิงหาคม 2565 และวันที่ 8-9 สิงหาคม 2565
-
จองซื้อขั้นต่ำ 1 ล้านบาท และทวีคูณของ 1 ล้านบาท
ออกหุ้นกู้เพื่ออะไร
-
ชำระค่าสิทธิการเช่าที่ดิน และใช้ปรับปรุงศูนย์การค้าทั้งหมด เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจหลักตอบสนองต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่สู่อนาค
-
ขยายธุรกิจสู่ New Economy ในหลายประเภท รวมทั้งการสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มเชื่อมธุรกิจหลักเข้ากับธุรกิจใหม่ ๆ ร่วมกับพันธมิตรใน Ecosystem
-
ขยายธุรกิจด้านการบริหารอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมในอีก 1-3 ปีข้างหน้า
หุ้นกู้ด้อยสิทธิคล้ายทุนฯ มีความเสี่ยงหรือไม่ เหมาะกับใคร ?
-
มีความเสี่ยงที่ระดับ 7 จากทั้งหมด 8
-
เหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินเย็น และไม่มีแผนใช้เงินก้อนนั้นในอีก 5 ปีข้างหน้า
-
ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดหนังสือชี้ชวนได้ที่ www.sec.or.th หรือสอบถามสถาบันการเงินที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ 5 แห่ง ได้แก่
– ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร.02-777-6784
– บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)โทร.02-779-9000
– บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)โทร.02-658-8951
– บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร.02-680-4004
– บริษัทหลักทรัพย์ ไอ วี โกลบอล จำกัด (มหาชน) โทร.02-658-5788
คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
Facebook Comments