ในบทความเรื่องนี้ ผมอยากแบ่งปันประสบการณ์ เรื่ องการ “สำรวจสุขภาพทางการเงิน” ผ่ านงบการเงินส่วนบุคคล เวลาเราต้องการดูว่าเรามีความมั่ นคงทางการเงินแค่ไหน? หรือบางคนต้องการดูว่า ทำไมเรายังจนอยู่? หรือ เรารวยหรือยัง?
เราสามารถสำรวจสถานะการเงิ นของตนเอง ผ่านงบการเงินของเราได้ ซึ่งไม่ยากเลยครับ
งบการเงินส่วนบุคคล แบ่งได้เป็น 2 งบ ได้แก่
1. งบรายได้-รายจ่าย (งบกระแสเงินสด)
2. งบดุล (งบแสดงฐานะการเงิ น)
ซึ่งสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้
1. งบรายได้-รายจ่าย ส่วนบุคคล (Personal Income and Expense Statement)
เป็นงบที่แสดงให้เห็ นในรอบระยะเวลาหนึ่งเช่น 1 เดือน หรือ 1 ปี เรามีรายรับที่เป็นเงินเข้ ามาจากทางใดบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด และมีรายจ่ายออกไปในทางใดบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าใด
โดยหลักการแล้ว คนที่มี “สุขภาพการเงินดี” ย่อมมี รายรับ มากกว่า รายจ่าย หรือรับ ลบ จ่าย ต้องเป็นบวก คนที่มีรายรับมากกว่ารายจ่าย ส่วนต่างเราอาจเรียกว่า “เงินออม” ซึ่งเป็นเงินที่เหลือเก็บไว้เพื่ อเอาไปทำประโยชน์ เช่น ลงทุนเพื่อเอาไว้ตอบสนองเป้ าหมายตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งในส่วนที่เราวางแผนไว้ หรือ เหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้
ทำไมเราจึงควรเก็บเงิ นออมสะสมไว้ ไม่ใช้จ่ายจนหมดในแต่ละงวด เหตุผลก็คือ “การบริโภค” หรือ การใช้จ่ายเกิดขึ้นตลอดทุกช่ วงเวลาของชีวิต แต่รายได้ โดยเฉพาะจากการทำงานอาจเกิดขึ้ นได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงช่ วงเราเกษียณเท่านั้น เงินออมหรือเงินลงทุนที่ เราสะสมไว้ จึงเปรียบเหมือนเสบียงที่เราเก็ บไว้ใช้ยามที่เราไม่ได้ทำงานแล้ ว
“คนที่ออมมาอย่างต่อเนื่องจึงเป็ นคนที่เข้าใจหลักการ และมีพื้ นฐานที่จะทำให้ชีวิตมีความมั่ นคงทางการเงิน แต่คนที่รายรับน้อยกว่ารายจ่าย แบบนี้เรียกว่าชีวิตติดลบแล้ว”
โดยธรรมชาติก็จะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา ซึ่งมีทั้งดอกและเงินต้นที่ต้
นอกเหนือจากการคุมภาพรวมให้ รายได้มากกว่ารายจ่าย เพื่อให้มีเงินออมเป็นบวกแล้ว ก็คือ “เทคนิคการเพิ่มรายได้” รายได้จากการทำงานถือว่าเป็ นรายได้หลักของมนุษย์ที่มีร่ างกายและสมองมีความชำนาญในวิ ชาชีพต่างๆ กันไป
การพัฒนาตนเองให้เกิดความรู้ ประสบการณ์และเติบโตในหน้าที่ การงาน จะเป็นแหล่งที่มาอย่างต่อเนื่ องของรายได้จากการทำงานที่เพิ่ มขึ้นจากปัจจุบันไปสู่อนาคต บางคนขยันหาอาชีพเสริมช่ วงนอกเวลาการทำงานประจำ นี่ก็ยิ่งทำให้ Human Asset ของตัวเองมีค่ามากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม Human Asset ของเรามีขีดจำกัด เช่น ร่างกายและสมองของเราก็ต้ องการพักผ่อน ต้องการเวลาให้กับชีวิตส่วนตัว และพักผ่อนด้วย ดังนั้น จึงควรให้สินทรัพย์ชนิดอื่ นทำงานสร้างรายได้ให้เราด้วย เงินออมที่เราสะสมจึงถูกนำกลั บไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อสร้างดอกผลให้กลับมาเป็ นรายได้ส่วนเพิ่มจากการลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มของเงิ นออม ช่วยให้มีความมั่นคงทางการเงิ นมากกว่าเดิมไปอีกแบบต่อเนื่อง
ใครอยากมีเงินออมเพิ่ม ยังมีอีกเทคนิคหนึ่ง คือ “การบริหารรายจ่าย” ในชีวิตของคนเราอาจมีค่าใช้จ่ายประเภทที่ต้อง จ่ายไปทุกเดือน เช่น ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ซึ่งเราต้องคอยควบคุมไม่ให้สู งจนเราผ่อนไม่ไหว หลักการก็คือว่าอย่าให้ค่าใช้จ่ ายผ่อนหนี้เกินกว่า 40% ของรายได้รวมของเรา เพราะเรายังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่ นๆ ที่ต้องมีในชีวิตเราอีก ซึ่งก็คือ “ค่าใช้จ่ายผันแปร”
ที่ว่าผันแปร ก็คื อ แปรตามความจำเป็นและความต้ องการแบบรื่นรมย์ในชีวิต ในส่วนความจำเป็นก็คือ จำเป็นต่อชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น ถ้าไม่มีก็คงไม่ได้ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อความรื่ นรมย์ เช่น การไปเที่ยว ช้อปปิ้งนี่ก็ต้องมีบ้าง แต่ปัญหาของคนที่มีชีวิตแบบเงิ นออมติดลบ
เมื่อย้อนไปดูก็มักพบว่ามีค่ าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องจ่ายสูงเกิ นไป (มากกว่า 40% ของรายได้) และยังมีค่าใช้จ่ายผันแปรมากเกิ นไป ทำให้รายรับสุทธิติดลบ หรือ ไม่ติดลบก็มีเงินออมในระดับที่ ต่ำเกินไป ใครอยากมีเงินออมเพิ่ม ลองหยิบงบรายได้รายจ่ายมาดู และใส่เทคนิคที่ผมเล่าลองไปใช้ ดูครับ
2. งบดุลส่วนบุคคล (Personal Balance Sheet)
จากภาพแสดงโครงสร้างของงบดุ ลของบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วย สินทรัพย์ และหนี้สิน ณ ขณะใดขณะหนึ่งของบุคคล ถ้าเราอยากรู้ความมั่งคั่งของบุ คคลก็ง่ายๆ ครับ ทำได้ดังนี้
“จากสมการนี้ ความมั่งคั่งจะเพิ่มได้ ทำได้ 2 ทางครับ เพิ่มสินทรัพย์ และลดหนี้สิน”
เวลาเราเดินทางไปในชีวิต ความมั่งคั่งของราควรจะเพิ่มขึ้ นเรื่อยๆด้วยการบริหารให้หนี้สิ นลดลง โดยเฉพาะหนี้ระยะยาวก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ ควรจะมีระดับลดลงเรื่อยๆ และไม่ควรก่อหนี้ก้อนใหม่ที่ไม่ จำเป็นอีก เพราะชีวติเราไม่มี เวลามากมาคอยปลดหนี้ใหญ่ได้ หลายครั้ง
ส่วนสินทรัพย์ในชีวิตนั้น เราควรมีสินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด เงินฝากออมทรัพย์ เพื่อรองรับการใช้จ่ายในชีวิ ตประจำวัน หรือรองรับเหตุฉุกเฉิน ดังกรณีเหตุการณ์ Covid-19 นี้ หากเราไม่มีบัญชีเงิ นฝากสำรองไว้ใช้จ่าย ใครที่ตกงานจากเหตุการณ์นี้ จะลำบากมาก
เทคนิคที่ผมอยากบอกในเรื่องนี้ ก็คือ เราควรมีบัญชีสำรองเผื่อเหตุฉุ กเฉิน แยกจากบัญชีอื่นโดยมียอดเงิ นประมาณ 6 เดือนของรายจ่ายประจำเดื อนของเรา เช่น ถ้าเราต้องใช้จ่ายขั้นต่ำเดื อนละ 10,000 บาท เราก็ควรมีบัญชีสำรองนี้ ในยอดไม่ต่ำกว่า 60,000 บาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของสินทรั พย์สภาพคล่อง
ในด้านสินทรัพย์ส่วนตัวนั้น อาจเป็น บ้านพร้อมที่ดิน หรือคอนโดเพื่อใช้อยู่อาศัย รถยนต์ และสินทรัพย์ส่วนตัวอื่นๆ เช่น เครื่องประดับ สินทรัพย์เหล่านี้โดยทั่ วไปเราจะไม่ได้มีไว้เพื่อขาย ถ้าไม่ถึงขั้นอับจนจริงๆ แต่มี ไว้เพื่อใช้ประโยชน์ การมีสินทรัพย์เหล่านี้มากเกิ นไปจะไม่ก่อให้เกิดรายได้หมุ นเวียนกับเข้าไปที่งบรายได้ รายจ่าย
สินทรัพย์ที่ในอนาคตจะมี ความสำคัญต่อชีวิตของเราคือ สินทรัพย์ลงทุน ซึ่งอาจอยู่ในหลายลักษณะ เช่น เงินฝาก หุ้นสามัญ ตราสารหนี้ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ โลหะมีค่า เป็นต้น ซึ่งเราควรทยอยสะสม และจัดสัดส่วนตามสไตล์ที่เราชอบ ความถนัดในการลงทุน
รวมทั้งตามระดับความเสี่ยงที่ เรายอมรับได้ โดยจัดแล้ว และบริหารแล้ว ควรให้ได้รับอัตราผลตอบแทนเฉลี่ ยในอัตราที่ดีกว่าอั ตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งปัจจุบันได้รับในอัตราที่ต่ำ มาก เช่น จัดแล้วทำให้เดินทางไปในอัตรา 5% ต่อปี แม้มีความเสี่ยง
แต่ก็ดีกว่าเดินทางไปในอัตรา 0.5% ซึ่งไปช้ามากกว่าจะบรรลุเป้ าหมาย เรื่องความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ จะต้องไปเรียนรู้ เพราะสามารถบริหารจัดการได้ แต่จะยิ่งเสี่ยงมากกว่า ถ้าไม่เรียนรู้ที่จะลงทุนเลย
เคล็ดลับก็คือ เวลาเราเดินทางชีวิตไปยังอนาคต สินทรัพย์ที่ควรเพิ่มมากขึ้น คือ “สินทรัพย์ลงทุน” เพราะสามารถจะไปสร้างรายได้ให้
นอกเหนือจาก Human Asset ของเรา
เวลาเรามีเงินออมหลังหักค่าใช้ จ่ายต่างๆ แล้ว ควรวิ่งมาเพิ่มสินทรัพย์ลงทุ นแล้วผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลงทุ นก็จะวิ่งไปเพิ่มรายได้ ในงบรายได้รายจ่าย ซึ่งทำให้เงินออมเพิ่มมากกว่ าเดิมอีก แบบนี้เขาถึงเรียกว่า “มั่งคั่งไม่รู้จบ” ซึ่งเป็นคาถาของเศรษฐีนั่นเอง
Facebook Comments