นอกจาก “วันจันทร์” และ “วันศุกร์”
จะมีผลต่อความรู้สึกของคนเราแล้ว
รู้หรือไม่ว่า “วันพุธ” ก็ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการทำงานของเรา เช่นกัน
เพราะวันพุธคือวันทำงานในช่วงกลางสัปดาห์
อาจทำให้เรารู้สึกเหนื่อยมากกว่าวันอื่นๆ
บางคนอาจเกิดอาการ Burnout หรือ “ภาวะหมดไฟ” ได้
ฉะนั้นมาดูอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ ช่วยลดอาการ Burnout
และเป็นวิธีที่ประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีความสุขในโลกใช้จริง!
และได้ผลจริง!

ทำไมต้องเลือกพักผ่อน “วันพุธ”?
“วันพุธ” คือวันทำงานในช่วงกลางสัปดาห์ ที่หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทำงานมาถึง 2 วันแล้ว เหลืออีก 3 วันกว่าจะถึงวันหยุด จึงทำให้วันพุธเป็นวันที่ทำให้เราบางคนเกิดอาการ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานได้ หรือรู้สึกเหนื่อยเป็นพิเศษ
เช่นนั้น การเลือกวันพักผ่อนเป็นวันพุธ เท่ากับคุณได้พักผ่อนในกลางสัปดาห์พอดี เสมือนหยุดพักชั่วคราวหลังทำงานมาแล้วครึ่งทาง เพื่อเรียกพลังกลับไปทำงานวันต่อไปด้วยความสดชื่น วันพุธจึงเป็นวันที่เหมาะที่สุดแล้วในการที่จะใช้เวลากับตัวเอง
วันพุธต่างจากวันอื่นยังไง?
หลายคนอาจสงสัยว่า แม้ว่าเราจะให้รางวัลตัวเราเองในวันพุธแล้ว แต่สุดท้าย เราก็ยังต้องรีบเข้านอนเร็วและตื่นเช้าเพื่อที่จะไปทำงานในวันพฤหัสบดีอยู่ดี แล้วมันจะต่างกับวันอื่นๆ ยังไง ?
สิ่งที่ต่างกันก็คือ หลังจากเลิกงานวันพุธแล้ว เราไม่ควรที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับงานเลย เราควรให้สัญญากับตัวเราเองว่า ในคืนวันพุธจะช่วงเวลาของตัวเราเอง จึงต่างกับวันอื่นที่เวลาเลิกงานแล้ว อาจจะต้องเข้าไปเช็คอีเมลบริษัทหรือตอบคำถามลูกค้าอยู่ดี
“การพักผ่อนกลางสัปดาห์” แนวคิดที่ใช้จริงในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
ด้วยความที่คนในแถบสแกนดิเนเวีย อย่าง สวีเดน, เดนมาร์ก และฟินแลนด์ ซึ่งต่างเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีความสุขที่สุดในโลก 2021 พวกเขามีความเชื่อในเรื่องของ Work Life balance อย่างมาก เวลางาน ก็จะตั้งใจโฟกัสกับเนื้องานจริงๆ แต่หลังจากเลิกงานแล้ว พวกเขาก็จะโฟกัสกับการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะวันพุธ ที่เป็นวันในช่วงกลางสัปดาห์ พวกเขาจะมีธรรมเนียมที่ทำต่อๆ กันมาว่า หลังเลิกงานพวกเขาจะใช้เวลาอยู่กับตัวเอง หรือครอบครัวและคนที่รัก ซึ่งเปรียบเสมือนกับการให้รางวัล และให้กำลังใจกับตัวเอง ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอาการ Burnout และความรู้สึกเบื่อหน่ายในการทำงาน อีกทั้งยังช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับคนรอบตัว เติมสมดุลชีวิตให้กับตัวเอง
Facebook Comments