โดยสาเหตุที่เก็บภาษีนี้ กรมสรรพากรให้เหตุผลว่า ต้องจัดเก็บภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น โดยภาษีจะครอบคลุมตั้งแต่ กำไรที่มาจากการขายสินทรัพย์ หรือคนไทยที่มีหน้าที่การงานในต่างประเทศ หรือพนักงานบริษัทต่างประเทศ
โดยปกติแล้ว ภาษีเงินได้ต่างประเทศ กรมสรรพากรจะเรียกเก็บคนที่นำเงินเข้ามาในที่เกิดรายได้ แต่หากนำเงินเข้ามาในประเทศไทย ในปีถัดไปจะไม่เสียภาษี
แต่กฎใหม่ เริ่มใช้ 1 ม.ค. 67 ไม่ว่านักลงทุนจะนำเงินเข้ามาปีไหนก็เสียภาษีเงินได้ ทำให้นักลงทุนหุ้นต่างประเทศ หรือคนที่มีรายได้จากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีที่เยอะขึ้น และมากขึ้นนั่นเอง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ:
นาย A มีรายได้ในไทยและต่างประเทศ และเสียภาษีที่ฐาน 35% หากในปีนั้นนาย A ได้กำไรจากการขายหุ้นต่างประเทศ เป็นจำนวน 1,000,000 โดยปกติแล้วหากนำเข้าประเทศในปีถัดไปจะไม่เสียภาษี แต่ ณ ตอนนี้ไม่ว่าจะนำเงินเข้าตอนไหนก็เสียภาษีนั่นเอง โดยหากนาย A นำกำไรกลับเข้ามาในประเทศ จะต้องเสียภาษีถึง 350,000 บาทกันเลยทีเดียว
ใครได้ประโยชน์?
นักลงทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม
นักลงทุนท่ีเป็นนิติบุคคล ฐานภาษีจะจำกัดอยู่ที่ 20%
ใครเสียประโยชน์
นักลงทุนรายย่อยที่ซื้อหุ้นรายตัวด้วยตัวเอง อาจเสียภาษีสูงถึง 35% นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนรายย่อยหลายรายอาจกังวลเรื่องภาษีเงินได้จากต่างประเทศ เพราะจะทำให้กำไรจากการลงทุนในหุ้นลดลง และอาจจะเป็นเรื่องยากว่าเงินก้อนไหนเป็นทุน หรือกำไรที่จะต้องเสียภาษีกันแน่!?
Facebook Comments