กลยุทธ์ “เงิน 3 ถัง” วางแผนให้มีกิน มีใช้ แก่ไปไม่ลำบาก!

เคยลองคิดมั้ยว่า…หลังเกษียณจะต้องใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่?
และต้องมีเท่าไหร่ถึงจะ พอใช้จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต?

พามารู้จัก ทฤษฎี “ 3 Buckets of money for retirement” กลยุทธ์ทางการออมเงินเพื่อวางแผนเกษียณอายุ ให้มีเงินใช้ไปตลอดชีวิต

1. ถังสภาพคล่อง (Security Bucket)

เงินเก็บสำหรับใช้จ่าย 2 ปีแรก หลังเกษียณ เน้นสภาพคล่องสูง ยังไม่หวังผลตอบแทน

เก็บไว้ที่ไหน?
– เงินฝาก
– กองทุนรวมตลาดเงิน
– กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น

วิธีคำนวณ : เงินเดือนที่ต้องการ x 12 เดือน x 2 ปี

ตัวอย่าง :
ถ้าหลังเกษียณ อยากใช้ 20,000 บาท / เดือน
เงินที่ต้องเก็บในถังที่ 1 ก็คือ 20,000 x 12 x 2 = 480,000 บาท

2. ถังงอกเงย (Risk/Growth Bucket)

เงินเก็บสำหรับใช้ปีที่ 3-7 หลังเกษียณ เน้นลงทุนเสี่ยงปานกลาง หวังผลตอบแทน 2-3% ต่อปี เพื่อไปเติมถังที่ 1

ลงทุนในสินทรัพย์อะไร?
– กองทุนรวมตราสารหนี้
– กองทุนรวมผสม
– กองทุนรวมหุ้น

วิธีคำนวณ : เงินเดือนที่ต้องการ x 12 เดือน x 5 ปี

ตัวอย่าง :
ถ้าหลังเกษียณปีที่ 3-7 อยากใช้ 20,000 บาท / เดือน
เงินที่ต้องเก็บในถังที่ 2 ก็คือ 20,000 x 12 x 5 = 1,200,000 บาท

3. ถังสานฝัน (Dream Bucket)

เงินเก็บสำหรับใช้หลังเกษียณปีที่ 7 เป็นต้นไป เน้นลงทุนหวังผลตอบแทนที่ 8-10% ต่อปี
เพื่อนำไปเติมถังที่ 1

ลงทุนในสินทรัพย์อะไร?
– กองทุนหุ้น,หุ้นปันผล
– อสังหาริมทรัพย์
– ทองคำ
– สินทรัพย์ทางเลือกต่างๆ

วิธีคำนวณ : (เงินเดือนต่อปี – ดอกเบี้ยที่ต้องการจากถังที่ 2) x 100 / 8

ตัวอย่าง :
ถ้าหลังเกษียณปีที่ 7 เป็นต้นไป อยากใช้ 20,000 บาท / เดือน

ดอกเบี้ยที่เราต้องการเพื่อนำไปเติมถังที่ 1
คือ 240,000 – 24,000 = 216,000 บาท

ถ้าอยากได้ดอกเบี้ยเท่านี้ แปลว่าเราต้องมีเงินเก็บในถังที่ 3
เท่ากับ 216,000 x 100 / 8 = 2,700,000 บาท

Reference : https://bit.ly/3bgA5QW, https://bit.ly/38ilthW

Facebook Comments