ถ้าพูดถึงแบรนด์อาหารที่เติบโตคู่กับคนไทย ในลิสต์ต้องมีชื่อ ‘เบทาโกร’ อย่างแน่นอน โดยเมื่อย้อนดูประวัติของเบทาโกร จะเห็นว่าดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นระยะเวลากว่า 55 ปี เพราะเหตุใดเบทาโกรจึงสามารถครองใจใครหลายคนได้อย่างยาวนาน และเพราะอะไรนักลงทุนถึงควรให้ความสนใจกับเบทาโกร หรือ BTG ที่กำลังเตรียมเข้า IPO มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน…
บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG ประกอบธุรกิจอาหารแบบครบวงจร (Vertically Integrated Business Model) ซึ่งครอบคลุมธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์และสารเสริมสำหรับสัตว์ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และปลา เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารแปรรูป อาหารพร้อมรับประทาน และผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง การทำฟาร์มเชิงพาณิชย์ และมีการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อย่างเข้มงวด ตามมาตรฐานระดับสากล
นอกจากรูปแบบธุรกิจที่ครอบคลุมแบบครบวงจรแล้ว ในด้านกลยุทธ์เบทาโกรได้วางแผนสร้างการเติบโตให้กับผลิตภัณฑ์ ทุกกลุ่ม ผ่านช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลาย และมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าที่ดีกว่าและความปลอดภัยที่สูงกว่าของผู้บริโภค การออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างครอบคลุม รวมไปถึงพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยมีจุดเด่นในการลงทุน 6 ด้าน ดังนี้
-
บริษัทอาหารระดับสากล
-
มีแบรนด์หลากหลายอันเป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
-
ผู้นำในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร คุณภาพ และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-security) ผ่านความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกับพันธมิตรชั้นนำในต่างประเทศ
-
มุ่งเน้นไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมและกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอัตรากำไรสูง
-
-
ระบบการจัดจำหน่ายที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
-
ความสามารภในการสร้างรายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมผ่านระบบการบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel Management)
-
ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ทั้งช่องทางจัดจำหน่ายของบริษัทฯ รวมไปถึงเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง
-
-
ศักยภาพการเติบโตอย่างก้าวกระโดดทั้งในและต่างประเทศ
-
ขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าสูงและการขยายกำลังการผลิต
-
การขยายธุรกิจต่างประเทศทั้งการเพิ่มกำลังการผลิตส่งออกอาหารและการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ
-
-
มุ่งหน้าสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ (New S-Curve)
-
มุ่งสร้างโอการการเติบโตในธุรกิจใหม่ๆที่เกี่ยวเนื่องจากศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนระบบเทคโนโลยีชั้นนำ
-
ร่วมลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ เพื่อต่อยอดโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด
-
-
กระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
-
รูปแบบธุรกิจที่ไม่เป็นการลงทุนเป็นเจ้าของสินทรัพย์ (Asset-light investment model)
-
การเพิ่มประสิทธิภาพในทีมงานและบุคลากร การจัดซื้อจัดจ้าง ตลอด ทั้งห่วงโซ่อุปทาน
-
คณะผู้บริหารและคณะกรรมการฯ ที่มีวิสัยทัศน์และมากด้วยประสบการณ์ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล
ในส่วนผลประกอบการ BTG สามารถทำกำไรในทุกปี แม้ในช่วงปี 2564 จะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งภายในและภายนอกทำให้ยอดขายลดลง แต่ทาง BTG ยังสามารถสร้างรายได้และกำไร โดยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 1/2565 ทำรายได้รวม 54,193.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 3,892.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 233.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน
ซึ่งดูสัดส่วนรายได้ทั้งหมดพบว่ากลุ่มธุรกิจอาหารและโปรตีนทำรายได้สูงสุด รองมาคือกลุ่มธุรกิจเกษตรซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายอาหารสัตว์ รวมไปถึงในกลุ่มธุรกิจต่างประเทศที่ได้ขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอาหารสัตว์และปศุสัตว์ในประเทศลาวและกัมพูชา พร้อมทั้งส่งออกไปกว่า 20 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2565)
ก้าวที่สำคัญต่อไปของ BTG คือ การระดมทุน IPO และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต ซึ่งมีแผนการนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนในครั้งนี้ คือ
-
ใช้เป็นเงินทุนในการขยายธุรกิจ ก่อสร้างฟาร์มและโรงงานแห่งใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน
-
การปรับโครงสร้างเงินทุน โดยการชำระหนี้สินระยะสั้นและระยะยาว
-
ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงาน
BTG ได้แต่งตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และมีแผนการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 500 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ (รวมจำนวนหุ้นที่ผู้จัดหาหุ้นส่วนเกินอาจใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากบริษัทฯ กรณีที่มีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน)
สำหรับนักลงทุนที่สนใจธุรกิจและพร้อมจะเป็นเจ้าของหุ้นเบทาโกร
สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ www.betagro.com
References :
– ร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ บมจ.เบทาโกร ซึ่งได้ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ www.sec.or.th
Facebook Comments